อาหารป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ
โรคปวดหัว ปลา ( มีโปรตีน) กินปลาสามารถช่วยแก้โรคปวดหัวได้
โรคภูมิแพ้(เกสรดอกไม้) โยเกิร์ตกิน โยเกิร์ตเตรียมไว้ก่อนฤดูผสมเกสรดอกไม้
โรคเวียนหัว เป็นลม ดื่มชา ลดการสะสมของไขมันที่อยู่ในเส้นเลือดด้วยการดื่มชา
โรคนอนไม่หลับ ดื่มน้ำผึ้ง การดื่มน้ำผึ้งช่วยให้จิตใจสงบและลดความกระวนกระวายใจ
โรคหืดหอบ หัวหอมแดง หัวหอมแดงจะช่วยไปขยายหลอดลมให้หายใจได้สะดวก
โรคข้ออักเสบ ปลา กินปลาแซลมอน ทูน่า ซาร์ดีนช่วยแก้โรคข้ออักเสบได้
โรคหงุดหงิดง่าย กล้วย ,ขิง กินกล้วยช่วยสงบอารมณ์ได้ ขิงช่วยรักษาโรคหงุดหงิดได้
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ดื่มน้ำแครนเบอร์รี่เปรี้ยวจัดๆ ลดการติดเชื้อแบคทีเรียได้
โรคหัวเข่าอักเสบ สับปะรด แมกนีเซียมทีอยู่ในสับปะรดช่วยรักษาโรคกระดูกอักเสบได้
โรคกระวนกระวายใจ ข้าวเกรียบ ช่วยลดความกดดัน ความกังวล และ ความเหนื่อยล้า ลงได้
โรคไอ พริกขี้หนู, พริกชี้ฟ้า ช่วยบรรเทาอาการไอได้โดย สารที่อยู่ในเนื้อพริก ที่เรากิน
โรคมะเร็งเต้านม ข้าวสาลี, กะหล่ำปลี ช่วยรักษาระดับฮอร์โมนเพศหญิงให้ปกติ
โรคมะเร็งปอด ผักใบเขียว มีวิตามิน A ช่วยขับพิษและของเสียในปอดได้เป็นอย่างดี
โรคฝีหนอง แผลพุพอง กะหล่ำปลี มีสารเคมีอยู่ภายใน ที่ช่วยรักษาแผลหนองพุพอง
โรคท้องร่วง แอปเปิ้ล หั่นแอปเปิ้ลเป็นชิ้นๆ กินทั้งเปลือกช่วยรักษาโรคท้องร่วง โรคเส้นเลือดอุดตัน อะโวคาโด ไขมันไม่อิ่มตัวในผลอะโวคาโดจะช่วยดูดซับคลอเรสเตอรอล
ความดันโลหิตสูง น้ำมันมะกอก, ผักขึ้นฉ่าย น้ำมันในผลช่วยลดความดันโลหิต และผักขึ้นฉ่าย มีสารช่วยลดความดันโลหิตสูงอยู่
โรคเบาหวาน ดอกบล็อกเคอรี่และถั่วลิสง มีธาตุโครเมี่ยมช่วยกำหนดแร่อินซูลินและรักษาระดับน้ำตาลในเลือด
อาหารกับโรคต่างๆ
อาหารกับโรคหัวใจ
ไขมันกับโรคหัวใจการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว saturated fats และ cholesterol ซึ่งเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูงจะทำให้อ้วนมากและทำให้ไขมันในเลือด cholesterol สูงขึ้นซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ความอ้วนยังทำให้ไขมัน LDL(ไขมันที่ไม่ดี) สูงซึ่งจะเกาะตามผนังหลอดเลือด Cholesterol ที่เพิ่มขึ้น 1 %จะทำให้อัตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจเพิ่ม 2-3% การลดน้ำหนักจะทำให้ความดันโลหิตลดลง และทำให้ไขมัน HDL (เป็นไขมันที่ดี)เพิ่ม ซึ่งเป็นไขมันที่นำ LDL ออกจากผนังหลอดเลือด ข้อแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวโดยการหลีกเลี่ยงน้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว มันจากสัตว์
รายละเอียดอ่านที่นี่Antioxidant และโรคหัวใจสาร antioxidant จะป้องกันการทำลายเซลล์จาก oxygen free radical (คือ oxygen ที่เกิดจากปฏิกิริยายาทางเคมี ซึ่งขาด electronซึ่งจะไปแย่ง electron จากเซลล์ทำให้เกิดปฏิกิริยายา oxidation เหมือนการเกิดสนิม )เกิดโรคหัวใจ อัมพาต ต้อกระจก และการแก่ วิตามิน E ถูกนำมาใช้ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบอย่างได้ผล สำหรับวิตามิน A,C อยู่ระหว่างการศึกษา ดังนั้นการรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ ร่วมกับรับประทานอาหารจำพวกผักและผลไม้ที่มีใยอาหารจะสามารถลดอัตราการเกิดโรคได้หลายโรค
สุรากับโรคหัวใจการดื่มสุราพอสมควรสามารถลดอัตราโรคหัวใจได้เนื่องจากแอแอลกอฮอล์จะไปเพิ่ม HDL และลดอัตราการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดโดยทั่วไปคุณสุภาพสตรีดื่มเบียร์เกินวันละกระป๋อง แต่ถ้าท่านผู้อ่านยังไม่ได้เริ่มดื่มไม่แนะนำให้ดื่มสุราเพื่อป้องกันโรคหัวใจเนื่องจากจะมีโอกาสติดสุราและเกิดอุบัติเหตูสูง
เกลือกับโรคหัวใจสาเหตุหนึ่งของความดันโลหิตสูงคือการรับประทานเกลือมากเกินไป โดยทั่วไปแนะนำรับประทานไม่ให้เกิน ครึ่งช้อนชา หากซื้ออาหารสำเร็จรูปต้องอ่านสลากเพื่อจะทราบปริมาณเกลือ อาหารบางอย่างที่มีเกลือมากควรหลีกเลี่ยงเช่น ของหมักดอง อาหารกระป๋อง ซอส ผงชูรส
เด็กและไขมัน cholesterol ในเลือดสูงในเมืองไทยไม่มีตัวเลขว่าเด็กไทยไขมันในเลือดสูงเท่าใด แพทย์แนะนำว่า เด็กอายุมากกว่า 2 ปีควรคุมอาหารไม่ให้รับอาหารไขมันสูงเกินไป ซึ่งจะลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ในอนาคต เด็กควรได้รับ cholesterol 100 มิลิกรัม ทุก 1000 กิโลแคลอรี
อาหารจะสามารถป้องกันมะเร็งได้หรือไมครึ่งหนึ่งของมะเร็งที่เกิดในสุภาพสตรีมักจะสัมพันธ์กับอาหารที่รับประทานเข้าไป แม้ว่ากรรมพันธุ์จะมีบทบาทสำคัญในการเกิดมะเร็งแต่อาหารที่รับประทานเข้าไปก็มีส่วนทำให้มะเร็งเกิดขึ้นด้วย อาหารที่อุดมด้วยไขมันจะมีส่วนสัมพันธ์กับมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งต่อมลูกหมาก อาหารที่มีสารถนอมอาหารมากจะสัมพันธ์กับมะเร็งกระเพาะอาหาร และหลอดอาหาร อาหารที่มีกากอาหารน้อยมีความสัมพันธ์กับมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักดังนั้นท่านผู้อ่านควรเริ่มต้นป้องกันมะเร็งตั้งแต่วันนี้โดยการเลือกอาหารพวกผัก ผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่ผ่านการถนอมอาหาร งดอาหารสุกๆดิบๆ เช่นปลาดิบ หลีกเลี่ยงอาหารที่ปิ้งย่างจนเกรียม หรือถนอมอาหารโดยวิธีรมควัน,หมัก/ดองเกลือ โดยเฉพาะ
เกลือไนเตรด เช่น แหนมและไส้กรอก
Antioxidant และมะเร็งในผักและผลไม้มีสาร antioxidant มากเช่น วิตามิน A,C ,E และ betacarotene ซึ่งสารดังกล่าวสามารถลดอัตราการเกิดมะเร็งได้หลายอย่างเช่น มะเร็ง ปอด ปากมดลูก ลำไส้ใหญ่ กระเพาะ antioxidant สามารถป้องการทำลายเซลล์จาก oxygen free radical ซึ่งสามารถทำลายสารพันธุกรรมในเซลล์และก่อให้เกิดมะเร็งในภายหลัง ผักและผลไม้นอกจากมีวิตามิน A และ betacarotene จากธรรมชาติยังมีสารอื่นที่ป้องกันมะเร็งซึ่งไม่พบในวิตามินที่เราให้ วิตามิน C,E ป้องกันมะเร็งโดยการเสริมภูมิคุ้มกันและป้องการสาร nitrites จากสารถนอมอาหาร ดังนั้นควรรับประทานอาหารที่มีกาก ผลไม้ และผักมากลดอาหารที่มีไขมันจะช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็ง
อาหารไขมันกับมะเร็งอาหารไขมันโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวหากรับประทานมากจะทำให้อัตราการเกิดมะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่เพิ่ม นอกจากนั้นอาหารมันยังทำให้อ้วน จากสถิติพบว่าผู้หญิงที่อ้วนเป็นมะเร็งเต้านม ปากมดลูก มดลูก มากกว่าผู้หญิงที่มีน้ำหักปกติ ดังนั้นให้กินอาหารพวกผักและผลไม้ลดไขมัน
ใยอาหารและมะเร็ง
เป็นที่ทราบกันดีว่าอาหารที่มีกากจะสามารถอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ผู้ป่วยทีม
ความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ควรรับประทานอาหารที่มีกากมากกว่า 35 กรัม
สุรากับมะเร็ง
การดื่มสุรามากทำให้เกิดมะเร็งที่ตับได้นอกจากนั้นยังพบว่าการดื่มสุราร่วมกับการสูบบุหรี่ทำให้เกิดมะเร็งเพิ่มขึ้นที่ ปาก หลอดอาหาร กล่องเสียง
อาหารกับโรคกระดูกพรุน [osteoporosis] กระดูกพรุนหมายถึงกระดูกที่หักง่ายเนื่องจากกระดูกสูญเสียเนื้อกระดูกทำให้กระดูกบาง กระดูกของคนจะมีความแข็งแรงที่สุดเมื่ออายุ 30ปีเนื่องจากมีการออกกำลังหลังจากนั้นกระดูกจะเริ่มเสื่อม จะเสื่อมมากในช่วงหมดประจำเดือนเนื่องจากขาด estrogenโรคกระดูกพรุนไม่อาการปวด เราจะพบผู้ป่วยกระดูกพรุนเมื่อกระดูกหักแล้วหรือผู้ป่วยที่กระดูกหลังโก่ง แต่มีการตรวจความเข็มของกระดูก bone densitometry tests เพื่อให้ทราบตั้งแต่เริ่มต้นและรีบป้องกัน วิธีป้องกันโรคกระดูกพรุนที่ดีคือ
การออกกำลังกายแม้ว่าจะเกิดโรคกระดูกพรุนแล้ว เช่นการเดิน การเดินขึ้นบันได การยกน้ำหนัก
การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงแนะนำให้ผู้ชายรับประทาน 1000มิลิกรัม ส่วนผู้หญิงรับประทาน 1500 มิลิกรัม
ได้รับวิตามิน D เพียงพอโดยอาจจะรับจากแสงแดด หรือจากอาหารซึ่งมีมากในไข่ นม ปลา
ได้รับฮอร์โมน estrogen
นอกจากการออกกำลังกายแล้ว อาหารก็เป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันโรค อย่างเช่น อาหาร 6 ชนิดที่เปี่ยมด้วยวิตามินป้องกันโรค
1. ถั่วเหลือง เป็นอาหารของชาวเอเชียมาช้านาน ในถั่วเหลืองมีโปรตีนที่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของคนไม่กินเนื้อสัตว์ที่น่าสนใจก็คือ ในถั่วเหลืองมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว Phytosterin และ Isotiavone ของตัวนี้ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดนอกจากนี้ยังเต็มไปด้วยวิตามินบี อี กรดลิก โพแทสเซียม และแมกนีเซียม
ป้องกันโรค จากการศึกษาพบว่า ถั่วเหลืองช่วยลดคอเลสเตอรอล ช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง ป้องกันอาการของหญิงวัยทอง และช่วยปกป้องกระดูก หากรับประทานเป็นประจำจะช่วยป้องกันมะเร็งได้
2. แอปเปิ้ล เป็นผลไม้ที่เต็มไปด้วยวิตามินและกากใยอาหาร โดยเฉพาะโพแทลเซียมที่ช่วยในการขจัดน้ำ นอกจากนี้ยังมีสาร Quercetin สูง รวมทั้ง ฟลาโวนอยด์จากสีของมัน ซึ่งจะช่วยในการดักจับอนุมูลอิสระ
ป้องกันโรค จากการค้นคว้าทดลองพบว่าแอปเปิ้ลช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็งปอด พาร์กินสัน และอัลไซเมอร์ นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันและรักษาโรคหืดและเบาหวานอีกด้วย
3. ถั่วเปลือกแข็ง เช่น ถั่วลันเตา ถั่วแขก ฯลฯ ถั่วเปลือกแข็งมีโปรตีนสูงและมี Phytosterin ซึ่งช่วยลดคอเลสเตอรอล นอกจากนี้ ยังมีแร่ธาตุต่างๆ เช่น เหล็ก ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม วิตามินบี และกากใยอาหารสูง
ป้องกันโรค ช่วยให้ลำไส้มีสุขภาพดี จากการศึกษาพบว่าถั่วเปลือกแข็งช่วยลดคอเลสเตอรอล และจากการศึกษาของนักวิชาการชาวเม็กซิกันพบว่า การกินถั่วเปลือกแข็งทุกวันช่วยป้องกันคนไข้โรคหัวใจไม่ให้เป็นโรคหัวใจขั้นที่สอง
4. ข้าวสาลี หากขาดข้าวจะทำให้เราไร้เรี่ยวแรง ไม่ว่าข้าวหรือก๋วยเตี๋ยวไม่ได้ทำให้อิ่มเท่านั้น แต่ยังช่วยให้สุขภาพดีอีกด้วย นักวิจัยคาดว่า กรด Feruia จากข้าวสาลีไม่ขัดสีเป็นสารแอนตื้ออกซิแดนต์ และมีสาร Lignan ซึ่งคล้ายกับฮอร์โมน เอสโตรแจน และยังมีกากใยอาหาร วิตามินบี และแร่ธาตุต่างๆ เช่น ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม
ป้องกนโรค ข้าวสาลีไม่ขัดสีช่วยทำให้หัวใจแข็งแรง หากใครที่กินข้าวสาลีไม่ขัดสีเป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจได้ถึง 26% และมีความเสี่ยงต่ำกับโรคเบาหวาน นอกจากนี้ยังช่วยปกป้องลำไส้ ส่วนจมูกข้าวสาลี ช่วยลดคอเลสเตรออล
5. พริก ไม่ว่าจะเป็นพริกหวาน พริกขี้หนู หรือพริกอื่นๆ ความเผ็ดของมันคือพลัง ซึ่งชาวโลกนำมาเป็นสมุนไพร ในพริกมีสาร Capsaicin และมีแคโรทีนอยด์เกือบ 40 ชนิด นอกจากนี้ยังมี Polyphenol ซึ่งช่วยปกป้องเซลล์ มีวิตามินสูงโดยเฉพาะวิตามีนซี โพแทสเซียม และแคลเซียม
ป้องกันโรค ปวดกล้ามเนื้อ ตะคริว ปวดฟัน นอกจากนี้สาร Capsaicin ยังใช้ภายนอกได้โดยการช่วยลดอาการตึงกล้ามเนื้อ (พลาสเตอร์) นอกจากนี้ มันยังฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ช่วยให้เจริญอาหารและย่อยอาหาร และมีสารแอนตื้ออกซิแดนต์สูงแต่ความเผ็ดของพริกเป็นอันตรายต่อกระเพาะหากทานมากเกินไป แต่มีข้อดีคือเพิ่มพลังให้แก่เยื่อกระเพาะ
6. ผักกะหล่ำ เช่น บร็อกโคลี่ กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ มีวิตามินสูง เช่น วิตามินซี โพแทสเซียม กรดโฟลิก เหล็ก และแคโรทีนอยด์ มี Glucosinate ซึ่งมีประสิทธิภาพอ่อนๆ เหมือนยาปฏิชีวนะ
ป้องกันโรค ควรกินผักที่เป็นหัวแบบดิบๆ จะได้สารอาหารเต็มที่ หากทำให้สุกก็จะเหลือคุณค่าแค่ครึ่งเดียว